สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

อาหารพื้นเมืองภูเก็ต

ภูเก็ตเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหาร อาหาร ของชาวภูเก็ต เป็นอาหาร ที่ได้รับ การผสมผสาน ทางวัฒนธรรม ของชาวพื้นเมือง และชาวจีน ดังนั้น อาหารภูเก็ต จึงมีรสจัด แบบอาหารใต้ทั่วไป แต่มีกลิ่นอาย ของความเป็นจีนผสมอยู่ เพราะชาวจีน เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุด ในภูเก็ตนั่นเอง

เนื่องจากชาวภูเก็ต ให้ความสำคัญ กับอาหารการกิน เป็นอย่างมาก (เห็นได้จากรูปแบบ ในการสร้างบ้าน ที่นิยม สร้างห้องครัว ให้มีขนาดใหญ่ แยกเป็นสัดส่วน อย่างชัดเจน) ประกอบกับภูเก็ต เป็นศูนย์รวม ของความเจริญ และศูนย์กลาง การติดต่อค้าขาย มาตั้งแต่ในอดีต ทำให้อาหาร ในภูเก็ตนั้น มีมากมาย หลากหลายชนิด ซึ่งพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้

  • หมี่ภูเก็ต : หมี่ภูเก็ตมีหลายชนิด ทั้งหมี่สั่ว หมี่หุ้น หมี่ผัดฮกเกี้ยน และหมี่เช้ก ฯลฯ ซึ่งร้านหมี่ในจังหวัดภูเก็ต ก็มีมากมายหลายร้าน โดยตั้งอยู่กระจายตามจุดต่างๆ ในจังหวัด จำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้
    หมี่ผัดแบบหมี่ฮกเกี้ยน
    • ร้านหมี่ต้นโพธิ์ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหอนาฬิกา
    • ร้านหมี่สะปำ ตั้งอยู่บ้านสะปำ
    • ร้านอ่าวเก ตั้งอยู่ถนนพูนผล

    บะหมี่แห้งและบะหมี่น้ำ-หมี่เช้ก (ใช้น้ำซุปที่ทำจากกุ้ง)

    • ร้านหมี่สมจิตร ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหอนาฬิกา
    • ร้านหมี่จิรายุทธ ตั้งอยู่ถนนพังงา

    บะหมี่หุ้นบะกู้ดเต๋-หมี่หุ้นป้าช้าง (หมี่ผัด เสริฟพร้อมน้ำต้มกระดูกหมู )

    • บริเวณถนนเยาวราช
    • ซอยโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว
    • ใต้ต้นฉำฉา ถ.วิชิตสงครามปากทางเข้าซอยหล่อโรง

    หมี่ซั่ว

    • ร้านคู่ขวัญ

  • ขนมจีนภูเก็ต : ขนมจีนเป็นอาหาร ที่คนภูเก็ต ส่วนใหญ่นิยม ทานเป็นอาหารเช้า ทานกับน้ำแกง ชนิดต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือผักเหนาะ หลากหลายชนิด ทั้งผักสด และผักดอง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการทานขนมจีนของชาวภูเก็ต นอกจากนี้ ยังนิยม ทานกับไข่ต้ม (บางคนชอบแบบยางมะตูม - ไม่ค่อยสุก) ห่อหมก และ ทอดมันปลา (ชาวภูเก็ตนิยม เรียกว่าลูกชิ้น) หาซื้อ / ทานได้ที่ : - ร้านขวัญขนมจีน (ถ.ทุ่งคา) - ร้านป้ามัย (ถ.สตูล – ข้างโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา) ฯลฯ

  • โอต้าว : โอต้าว มีลักษณะคล้ายหอยทอด แต่ไม่ใส่ถั่วงอก และเนื้อแป้งนุ่ม ไม่กรอบเหมือนหอยทอด ของภาคกลาง ใช้แป้งสาลี ผสมกับ แป้งมันละลาย ในน้ำข้นทอด ในกระทะแบน ใส่หอยติบ เผือก กุ้งแห้ง กากหมู พริกไทย ซีอิ้วขาว
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ในซอยโรงเรียนบางเหนียว
    • ตลาดเกษตร
    • สะปำ
      ฯลฯ

  • ฮูแช้ : ฮูแช้ มีลักษณะคล้ายยำใหญ่ สลัดผักหรือสลัดแขก ทานกับน้ำราดรสหวาน เค็ม เปรี้ยวและเผ็ดเล็กน้อย หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ตลาดเกษตร
    • สะปำ
      ฯลฯ

  • ข้าวยำพริก : ข้าวยำพริกเป็นการ นำเอาข้าวสวย มาคลุกเคล้า กับเครื่องที่มีรสชาติ เผ็ดร้อน ซึ่งประกอบด้วยหอม กระเทียมเผาโขลกรวมกับกะปิ พริกไทย มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง พริกป่น ใบพาโหม และใบมะกรูดซอย โดยกินกับผักเหนาะคือ ถั่วงอก, แตงกวาอ่อน ฯลฯ
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ตลาดเกษตร
    • ร้านขวัญขนมจีน(ถนนทุ่งคา)
      ฯลฯ

  • น้ำพริกกุ้งเสียบ : น้ำพริกกุ้งเสียบ ใช้ส่วนผสมเดียวกันกับน้ำพริกธรรมดา โดยเพิ่มกระเทียม ในปริมาณที่มากขึ้น ใช้วิธีตำหยาบๆ และใส่กุ้งเสียบ ลงไปคลุกเคล้าจนได้ที่ รับประทานกับผักเหนาะ
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ร้านแม่บุญธรรม ซอยสุรินทร์ 4
    • ร้านคุณแม่จู้
      ฯลฯ

  • น้ำพริกภูเก็ต : น้ำพริกภูเก็ตหรือน้ำพริกกุ้งสด หรือน้ำชุบหยำ มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด และหวานเล็กน้อย มีลักษณะเป็นน้ำ ประกอบด้วยน้ำมะนาว และเนื้อมะนาว ที่ปลอกเปลือกออกแล้ว ผสมกับน้ำกุ้งและเนื้อกุ้งลวก ใส่กะปิเล็กน้อย เติมพริกขี้หนูซอย และ หอมแดงแล้วขยำให้เข้ากัน

  • เคยเค็มอึก :เคยเค็มอึก คือ ไข่ตุ๋นใส่กะทิ และ กุ้งเคยดองเปรี้ยว (กุ้งตัวเล็กๆ ประเภทแพลงตอน) แต่งรส และกลิ่นด้วยน้ำตาล หัวหอม ตะไคร้ และะพริกขี้หนู รสชาติเค็ม หวาน และเผ็ดเล็กน้อย

  • อาจาด : อาจาดมีลักษณะเหมือนยำใหญ่แต่ทำเป็นแกง เป็นการนำเอาเครื่องแกง ละลายในน้ำกะทิ ผสมกับน้ำมะขามเปียก ตั้งไฟให้เดือด ใส่แตงกวา หั่นยาว(นำไปขยำ กับเกลือแล้วผึ่งแดดให้แห้งก่อน) ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง เมื่อเดือดได้ที่ดีแล้วก็ใส่ถั่วลิสงคั่วและงาลงไป รสชาติหวาน เปรี้ยว เค็ม

  • หมูผัดต่าวหยู้ : หมูผัดต่าวหยู้ หรือหมูผัดกับเต้าหู้ยี้ ใส่พริกขี้หนูทุบเพื่อแต่งกลิ่น แล้วปรุงรสโดยเน้นรสเค็ม-หวาน

  • แกงไตปลา : แกงไตปลาหรือแกงพุงปลามีทั้งแบบแห้ง และแบบน้ำ ใส่ปลาย่าง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งแบบแห้งจะเก็บไว้ได้นานกว่าแบบน้ำ รสชาติเผ็ดร้อน และเค็มเล็กน้อย

  • แกงตู้มี้ :แกงตู้มี้ เป็นแกงที่ได้รับอิทธิพล มาจากทางประเทศมาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายแกงส้ม แต่ต้องเคี่ยวเครื่องแกง กับน้ำมันก่อน แล้วใส่น้ำมะขาม ปรุงรส ด้วยสมแขกตากแห้ง แกงกับปลา และหัวปลา รสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ และเผ็ดเล็กน้อย

  • ผัดมั่งก๊วน :ผัดมั่งก๊วน หรือผัดมันแกว เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพล มาจากชาวจีนฮกเกี้ยน บางครั้งผัดใส่กุ้งหรือใส่หมูสามชั้น หรือกากหมู รสชาติหวาน-เค็ม

  • แกงตู้มี้ :แกงตู้มี้ เป็นแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางประเทศมาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายแกงส้ม แต่ต้องเคี่ยวเครื่องแกงกับน้ำมันก่อน แล้วใส่น้ำมะขาม ปรุงรสด้วยส้มแขก ตากแห้ง แกงกับปลาและหัวปลา รสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ และเผ็ดเล็กน้อย

  • หมูฮ้อง :หมูฮ้อง หรือหมูเต้าอิ๋ว มีลักษณะคล้ายหมูพะโล้ แต่ไม่ใส่เครื่องพะโล้ เครื่องปรุงประกอบด้วย หมู(นิยมใช้หมูสามชั้น)ซีอิ้วดำ-ขาว น้ำตาล และน้ำ รสชาติหวาน-เค็ม

  • ต้มส้ม :ต้มส้มมีสองแบบคือ ต้มส้มปลา และต้มส้มผัก วิธีปรุงนั้นทำได้ง่ายๆ คือ ใส่กะปิเล็กน้อย น้ำมะขาม และส้มแขกตากแห้ง(ส้มควาย) ลงไปในน้ำ แล้วตั้งไฟ รอจนน้ำเดือด ถ้าเป็นต้มส้มปลา ก็ใส่ปลาลงไป (นิยมใส่หัวปลา) ถ้าเป็นต้มส้มผัก ก็ใส่ผักซึ่งส่วนมากนิยม ใส่ผักหลายชนิด คือ ผักบุ้ง หยวก สับปะรด เม็ดมะม่วง หิมพานต์ หน่อข่าอ่อน และอาจใส่กุ้งเสียบหรือปลาฉิ้งฉ้างเล็กน้อย ปรุงรสให้มีรสเปรี้ยว หวาน เค็ม

  • เบือทอด :เบือทอดเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของ กุ้ง และหญ้าช้อง (สันตะวาใบข้าว) หรือ ใบชะพลู หรือใบเล็บครุฑ โดยการทำนั้น จะนำใบไม้ มาชุบแป้งสาลี ที่ผสมเครื่องเทศ นำกุ้งโรยหน้า แล้วนำไปทอด รับประทาน กับน้ำจิ้มรสหวาน และเผ็ดเล็กน้อย

  • ติ่มซำ :ติ่มซำเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของชาวภูเก็ต โดยมากนิยมทานกัน เป็นอาหารเช้า มีทั้งขนมจีบหรือเซียโบ๋ย ฮะเก๋าหรือเกาจี๋ เผือกทอด ลูกชิ้นปลา หรืออ๋วน ตีนไก่ กระดูกหมูตุ๋นยาจีนหรือบะกู้ดเต๋ กินกับน้ำจิ้มหวานหรือเตเจี่ยว

  • โลบะ : โลบะ คือ หัวหมูและเครื่องในหมูต้มพะโล้ แล้วนำไปทอดอีกที เลือกสั่งได้ว่า จะเอา หู ลิ้น ไส้ ปอด หรือตับ ทานกับต่าวกั้ว(เต้าหู้ทอด) หรือต่าวกั้วจี่ (เต้าหู้เหลืองผ่าเฉียง เป็นรูปสามเหลี่ยม ปาดตรงกลาง ใส่แป้งถั่วงอก กุ้ง แล้วนำไปทอด) หรือแห่จี่(แป้งผสมถั่วงอก โรยหน้าด้วยกุ้งแล้วนำไปทอด) หรือเกี้ยน (ทำจากหมูสับ กับกุ้ง ปู มันแกว และเผือก นำมาห่อด้วยฟองเต้าหู้ แล้วนำไปนึ่งให้สุกก่อนนำมาชุบแป้งทอด)
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • โลบะบางเหนียว (ทางไปสะพานหิน)
    • โลบะพูนผล (ถ.พูนผล)
    • โลบะสยาม (แถวถนนเยาวราช-โรงหนังเก่าชื่อสยาม)
      ฯลฯ

  • โอ้เอ๋ว : โอ้เอ๋ว เป็นขนมหวานทำมาจากกล้วยน้ำว้า ขยำกับเมล็ด โอ้เอ๋ว (เมล็ดสีขาวนำมาจากเมืองจีน) ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งใส กินแก้ร้อน และ ลดการกระหายน้ำ
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • แถวสยาม (แถวถ.เยาวราช-โรงหนังเก่าชื่อสยาม)
    • ปากซอยสุ่นอุทิศ ถ.เยาวราช
    • ใต้ต้นฉำฉา ถ.วิชิตสงคราม ปากทางเข้าซอยหล่อโรง
      ฯลฯ

  • บี้ถ่ายบาก : บี้ถ่ายบาก หรือลอดช่องสิงคโปร์ เป็นของหวาน มีเส้นสีขาวและแดง ทานกับน้ำเชื่อมใสใส่น้ำแข็ง

  • ตู่โบ้ : ตู่โบ้ หรือรวมมิตร กะทิ เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยมันต้ม เผือก ฟักทอง และถั่วแดง เม็ดเล็กๆ (คนภูเก็ตเรียกว่า ถั่วย้อแย้)

  • ขนมหัวล้าน : ขนมหัวล้าน หรือ ตาป๋าโก้ย เป็นขนมไส้ถั่วเขียว มีแป้งหุ้มปั้น เป็นลูกกลมเกลี้ยง สีเขียวอ่อนรองด้วยใบตอง

  • ขนมเต่า : ขนมเต่าหรืออั่งกู้ คือ ขนมหัวล้านนั่นเอง แต่นำแป้งมาใส่สีแดง แล้วกดในแม่พิมพ์เป็นรูปเต่า ใช้เป็นของไหว้ในเทศกาลต่างๆ

  • ขนมสี่ขา : ขนมสี่ขา หรือเบเฮ่จี่ ลักษณะคล้ายปาท่องโก๋หรือเจียะโก้ย แต่ปิดตัวแป้งให้เป็นเกลียวมีลักษณะเป็นสี่ขา โดยที่ตัวแป้ง มีเกร็ดน้ำตาล เมื่อรับประทานจะมีรสหวานอร่อย

  • จี้โจ : จี้โจ หรือจี่โจ เป็นขนมแป้ง คลุกงาทอด ข้างในมีไส้รสชาติค่อนข้างหวาน มีด้วยกันสามแบบ คือ ไส้ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วดำ

  • โกสุ้ย : โกสุ้ย หรือโก่ซุ้ย เป็นขนมถ้วย ทำจากน้ำตาลแดง ตัวขนมมีสีน้ำตาล รสหวาน ลักษณะเหนียวหนึบหนับ กินกับมะพร้าวขูด

  • กีโก้ย : เป็นขนมถ้วยเหลืองๆ ทำจากน้ำด่าง ตัวขนมมีความนุ่มและยืดหยุ่น ราดด้วยน้ำเชื่อม คำว่า กีโก้ยมาจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมว่า กีอาโก้ย

  • บั้นเจียนโก้ย : บั้นเจียนโก้ย มีลักษณะคล้ายขนมถังแตก ตัวขนมเหมือนฟองน้ำ มีรสชาติหวาน นิยมทานกับกาแฟในตอนเช้า

  • ฉ้ายถาวโก้ย : ฉ้ายถาวโก้ย เป็นขนมชนิดหนึ่ง มักทำกินกันในงานแต่งงาน ทำจากหัวไชท้าว ผสมกับแป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว ใส่หมู ไข่ น้ำตาล หัวเปราะ พริกไทย ผสมเข้าด้วยกันแล้วนำไปนึ่ง สุกแล้วโรยถั่วลิสง ต้นหอมหั่นฝอย มีกลิ่นของหอมและหัวเปราะ

  • เกี่ยมโก้ย : เกี่ยมโก้ย เป็นขนมรูปถ้วย สีขาว ขนาดประมาณถ้วยน้ำพริก รสชาติเค็ม ทำจากแป้งข้าวเจ้า โรยหน้าด้วยหอมเจียว ต้นหอม และกุ้งแห้งทอด กินกับน้ำจิ้มรสชาติเปรี้ยว-หวาน

  • จู้จุน : จู้จุน หรือขนมฝักบัว มีลักษณะเป็นวงกลม เป็นการนำแป้ง ไปทอด ให้บริเวณรอบๆ กรอบ และตรงกลางนุ่ม มีรสชาติหวาน

  • ฮวดโก้ย : ฮวดโก้ย หรือขนมถ้วยฟู ใช้ในพิธีไหว้เจ้า และไหว้บรรพบุรุษ เพราะเชื่อว่าเป็นขนมที่มีชื่อเป็นมงคล

  • เปาล้าง : เปาล้างคือข้าวเหนียวปิ้งไส้มะพร้าว ผสมกับกุ้ง พริกไทยและหัวเปราะ คาดว่าเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพล มาจากมาเลย์ เพราะที่มาเลเซีย ก็มีขนม ชนิดนี้เหมือนกัน

  • บะจ่าง : บะจ่างเป็นข้าวเหนียว ที่นำไปผัดกับซีอิ้ว แล้วนำมาห่อ ด้วยใบจ่าง(ใบจากตากแห้ง) โดยยัดไส้หมู กุ้งแห้ง และไข่ ไว้ข้างใน

  • กี่จ่าง : กี่จ่าง หรือขนมจ้าง ทำจากข้าวเหนียวแช่น้ำด่างห่อใบไผ่นึ่ง รสชาติหวานนิดๆ รับประทานกับน้ำตาลทราย

  • เกลือเคย : เกลือเคย ใช้ทานกับผลไม้คล้ายกับน้ำปลาหวาน ปรุงจากพริกขี้หนู ตำละเอียด กะปิ ซีอิ้ว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาว และน้ำ เวลารับประทาน ใช้ราดบนเลือดหมูต้ม เต้าหู้เหลือง แตงกวา และผลไม้อื่นๆ เช่น ชมพู่ สับปะรด ฯลฯ หรือนำผลไม้ไปจิ้มทานแบบน้ำปลาหวานก็ได้

  • เต้าซ้อ : เต้าซ้อ คือ ขนมที่มีลักษณะ เหมือนขนมเปี๊ยะ มีทั้งไส้หวาน ไส้เค็ม และบางร้านยังทำไส้ไข่เค็มด้วย
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ร้านเค่งติ้น ถ.ภูเก็ต
    • ร้านแม่บุญธรรม ซอยสุรินทร์ 4
    • ร้านคุณแม่จู้
      ฯลฯ

  • ผ้างเปี้ย : ทำด้วยแป้งนำไปอบ ลักษณะเป็นรูปกลมๆ ข้างในกลวง และทาน้ำตาลไว้บางๆ

  • หม่อหล้าว : หม่อหล้าว หรือขนมงาพอง เป็นขนมท่อนยาวทรงกระบอกข้างในกรวง ข้างนอกกรอบโรยงาไว้ รสชาติหวาน

  • ขนมพริก : ขนมพริกเป็นขนมคล้ายคุกกี้ แต่มีส่วนผสมของพริกไทย รสชาติหวาน และมีรสเผ็ดร้อนของพริกไทยเล็กน้อย

  • ขนมหน้าแตก : เป็นขนมพื้นเมืองภูเก็ต ลักษณะเหมือนคุกกี้ รสชาติหวาน และเค็มเล็กน้อย เนื้อไม่ละเอียดมากนัก

  • ก้องถึง : ก้องถึงหรือขนมตุ้บตั้บ ซึ่งในภูเก็ต ยังมีแบบที่ห่อใบไผ่ แบบโบราณจำหน่าย

ผัก-ผลไม้ และอาหารแห้ง

กะเปก / หน่อไม้น้ำ

กะเปกหรือหน่อไม้น้ำ เป็นพืชชนิดหนึ่งคล้ายๆ ต้นข้าว แต่ลำต้นอวบน้ำกว่า สามารถนำลำต้นภายใน ที่ลอกกาบใบทิ้งหมดแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วผัดกับกุ้งสด รสชาติจะหวานมัน กรอบอร่อย

เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ปัจจุบันมีการนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาแปรรูปในรูปแบบนานาชนิด ซึ่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์นี้ ถือเป็นของฝากจากภูเก็ตได้อย่างดีทีเดียว

สับปะรดภูเก็ต
เนื่องจากแร่ธาตุในดินที่ภูเก็ต และสภาพภูมิอากาศ ในจังหวัดภูเก็ต ที่แตกต่าง จากจังหวัดอื่น จึงทำให้สับปะรดที่ปลูกในภูเก็ต มีความกรอบอร่อย รสชาติหวาน อมเปรี้ยว ไม่เหมือนใคร ถือเป็นผลไม้ที่มีรสชาติ เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เหมาะสำหรับที่จะซื้อ เป็นของฝากได้เช่นกัน

กุ้งเสียบ
กุ้งเสียบ คือกุ้งตัวโตไม่ปอกเปลือก นำไปย่างจนแห้ง และรมควันจนหอมหาซื้อได้ ทั่วไปตามตลาดสด ตลาดเกษตร หรือร้านจำหน่ายของที่ระลึก

ปลาฉิ้งฉ้าง
ปลาฉิ้งฉ้างเป็นปลาทะเลตัวเล็กๆ จำพวกปลากะตักหรือปลาไส้ตัน มีทั้งแบบ ตากแห้งธรรมดา และแบบที่ปรุงรสแล้ว ซึ่งปัจจุบัน มีการพัฒนา ให้มีหลากหลายรสชาติ

ลูกหยีสด
ต้นหยี เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันหายากเต็มที ในภูเก็ต ลูกหยีมีรสชาติเปรี้ยว และบางครั้งก็มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน
ภูเก็ตเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหาร อาหาร ของชาวภูเก็ต เป็นอาหาร ที่ได้รับ การผสมผสาน ทางวัฒนธรรม ของชาวพื้นเมือง และชาวจีน ดังนั้น อาหารภูเก็ต จึงมีรสจัด แบบอาหารใต้ทั่วไป แต่มีกลิ่นอาย ของความเป็นจีนผสมอยู่ เพราะชาวจีน เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุด ในภูเก็ตนั่นเอง

เนื่องจากชาวภูเก็ต ให้ความสำคัญ กับอาหารการกิน เป็นอย่างมาก (เห็นได้จากรูปแบบ ในการสร้างบ้าน ที่นิยม สร้างห้องครัว ให้มีขนาดใหญ่ แยกเป็นสัดส่วน อย่างชัดเจน) ประกอบกับภูเก็ต เป็นศูนย์รวม ของความเจริญ และศูนย์กลาง การติดต่อค้าขาย มาตั้งแต่ในอดีต ทำให้อาหาร ในภูเก็ตนั้น มีมากมาย หลากหลายชนิด ซึ่งพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้

  • หมี่ภูเก็ต : หมี่ภูเก็ตมีหลายชนิด ทั้งหมี่สั่ว หมี่หุ้น หมี่ผัดฮกเกี้ยน และหมี่เช้ก ฯลฯ ซึ่งร้านหมี่ในจังหวัดภูเก็ต ก็มีมากมายหลายร้าน โดยตั้งอยู่กระจายตามจุดต่างๆ ในจังหวัด จำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้
    หมี่ผัดแบบหมี่ฮกเกี้ยน
    • ร้านหมี่ต้นโพธิ์ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหอนาฬิกา
    • ร้านหมี่สะปำ ตั้งอยู่บ้านสะปำ
    • ร้านอ่าวเก ตั้งอยู่ถนนพูนผล

    บะหมี่แห้งและบะหมี่น้ำ-หมี่เช้ก (ใช้น้ำซุปที่ทำจากกุ้ง)

    • ร้านหมี่สมจิตร ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหอนาฬิกา
    • ร้านหมี่จิรายุทธ ตั้งอยู่ถนนพังงา

    บะหมี่หุ้นบะกู้ดเต๋-หมี่หุ้นป้าช้าง (หมี่ผัด เสริฟพร้อมน้ำต้มกระดูกหมู )

    • บริเวณถนนเยาวราช
    • ซอยโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว
    • ใต้ต้นฉำฉา ถ.วิชิตสงครามปากทางเข้าซอยหล่อโรง

    หมี่ซั่ว

    • ร้านคู่ขวัญ

  • ขนมจีนภูเก็ต : ขนมจีนเป็นอาหาร ที่คนภูเก็ต ส่วนใหญ่นิยม ทานเป็นอาหารเช้า ทานกับน้ำแกง ชนิดต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือผักเหนาะ หลากหลายชนิด ทั้งผักสด และผักดอง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการทานขนมจีนของชาวภูเก็ต นอกจากนี้ ยังนิยม ทานกับไข่ต้ม (บางคนชอบแบบยางมะตูม - ไม่ค่อยสุก) ห่อหมก และ ทอดมันปลา (ชาวภูเก็ตนิยม เรียกว่าลูกชิ้น) หาซื้อ / ทานได้ที่ : - ร้านขวัญขนมจีน (ถ.ทุ่งคา) - ร้านป้ามัย (ถ.สตูล – ข้างโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา) ฯลฯ

  • โอต้าว : โอต้าว มีลักษณะคล้ายหอยทอด แต่ไม่ใส่ถั่วงอก และเนื้อแป้งนุ่ม ไม่กรอบเหมือนหอยทอด ของภาคกลาง ใช้แป้งสาลี ผสมกับ แป้งมันละลาย ในน้ำข้นทอด ในกระทะแบน ใส่หอยติบ เผือก กุ้งแห้ง กากหมู พริกไทย ซีอิ้วขาว
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ในซอยโรงเรียนบางเหนียว
    • ตลาดเกษตร
    • สะปำ
      ฯลฯ

  • ฮูแช้ : ฮูแช้ มีลักษณะคล้ายยำใหญ่ สลัดผักหรือสลัดแขก ทานกับน้ำราดรสหวาน เค็ม เปรี้ยวและเผ็ดเล็กน้อย หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ตลาดเกษตร
    • สะปำ
      ฯลฯ

  • ข้าวยำพริก : ข้าวยำพริกเป็นการ นำเอาข้าวสวย มาคลุกเคล้า กับเครื่องที่มีรสชาติ เผ็ดร้อน ซึ่งประกอบด้วยหอม กระเทียมเผาโขลกรวมกับกะปิ พริกไทย มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง พริกป่น ใบพาโหม และใบมะกรูดซอย โดยกินกับผักเหนาะคือ ถั่วงอก, แตงกวาอ่อน ฯลฯ
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ตลาดเกษตร
    • ร้านขวัญขนมจีน(ถนนทุ่งคา)
      ฯลฯ

  • น้ำพริกกุ้งเสียบ : น้ำพริกกุ้งเสียบ ใช้ส่วนผสมเดียวกันกับน้ำพริกธรรมดา โดยเพิ่มกระเทียม ในปริมาณที่มากขึ้น ใช้วิธีตำหยาบๆ และใส่กุ้งเสียบ ลงไปคลุกเคล้าจนได้ที่ รับประทานกับผักเหนาะ
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ร้านแม่บุญธรรม ซอยสุรินทร์ 4
    • ร้านคุณแม่จู้
      ฯลฯ

  • น้ำพริกภูเก็ต : น้ำพริกภูเก็ตหรือน้ำพริกกุ้งสด หรือน้ำชุบหยำ มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม เผ็ด และหวานเล็กน้อย มีลักษณะเป็นน้ำ ประกอบด้วยน้ำมะนาว และเนื้อมะนาว ที่ปลอกเปลือกออกแล้ว ผสมกับน้ำกุ้งและเนื้อกุ้งลวก ใส่กะปิเล็กน้อย เติมพริกขี้หนูซอย และ หอมแดงแล้วขยำให้เข้ากัน

  • เคยเค็มอึก :เคยเค็มอึก คือ ไข่ตุ๋นใส่กะทิ และ กุ้งเคยดองเปรี้ยว (กุ้งตัวเล็กๆ ประเภทแพลงตอน) แต่งรส และกลิ่นด้วยน้ำตาล หัวหอม ตะไคร้ และะพริกขี้หนู รสชาติเค็ม หวาน และเผ็ดเล็กน้อย

  • อาจาด : อาจาดมีลักษณะเหมือนยำใหญ่แต่ทำเป็นแกง เป็นการนำเอาเครื่องแกง ละลายในน้ำกะทิ ผสมกับน้ำมะขามเปียก ตั้งไฟให้เดือด ใส่แตงกวา หั่นยาว(นำไปขยำ กับเกลือแล้วผึ่งแดดให้แห้งก่อน) ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง เมื่อเดือดได้ที่ดีแล้วก็ใส่ถั่วลิสงคั่วและงาลงไป รสชาติหวาน เปรี้ยว เค็ม

  • หมูผัดต่าวหยู้ : หมูผัดต่าวหยู้ หรือหมูผัดกับเต้าหู้ยี้ ใส่พริกขี้หนูทุบเพื่อแต่งกลิ่น แล้วปรุงรสโดยเน้นรสเค็ม-หวาน

  • แกงไตปลา : แกงไตปลาหรือแกงพุงปลามีทั้งแบบแห้ง และแบบน้ำ ใส่ปลาย่าง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งแบบแห้งจะเก็บไว้ได้นานกว่าแบบน้ำ รสชาติเผ็ดร้อน และเค็มเล็กน้อย

  • แกงตู้มี้ :แกงตู้มี้ เป็นแกงที่ได้รับอิทธิพล มาจากทางประเทศมาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายแกงส้ม แต่ต้องเคี่ยวเครื่องแกง กับน้ำมันก่อน แล้วใส่น้ำมะขาม ปรุงรส ด้วยสมแขกตากแห้ง แกงกับปลา และหัวปลา รสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ และเผ็ดเล็กน้อย

  • ผัดมั่งก๊วน :ผัดมั่งก๊วน หรือผัดมันแกว เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพล มาจากชาวจีนฮกเกี้ยน บางครั้งผัดใส่กุ้งหรือใส่หมูสามชั้น หรือกากหมู รสชาติหวาน-เค็ม

  • แกงตู้มี้ :แกงตู้มี้ เป็นแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางประเทศมาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายแกงส้ม แต่ต้องเคี่ยวเครื่องแกงกับน้ำมันก่อน แล้วใส่น้ำมะขาม ปรุงรสด้วยส้มแขก ตากแห้ง แกงกับปลาและหัวปลา รสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ และเผ็ดเล็กน้อย

  • หมูฮ้อง :หมูฮ้อง หรือหมูเต้าอิ๋ว มีลักษณะคล้ายหมูพะโล้ แต่ไม่ใส่เครื่องพะโล้ เครื่องปรุงประกอบด้วย หมู(นิยมใช้หมูสามชั้น)ซีอิ้วดำ-ขาว น้ำตาล และน้ำ รสชาติหวาน-เค็ม

  • ต้มส้ม :ต้มส้มมีสองแบบคือ ต้มส้มปลา และต้มส้มผัก วิธีปรุงนั้นทำได้ง่ายๆ คือ ใส่กะปิเล็กน้อย น้ำมะขาม และส้มแขกตากแห้ง(ส้มควาย) ลงไปในน้ำ แล้วตั้งไฟ รอจนน้ำเดือด ถ้าเป็นต้มส้มปลา ก็ใส่ปลาลงไป (นิยมใส่หัวปลา) ถ้าเป็นต้มส้มผัก ก็ใส่ผักซึ่งส่วนมากนิยม ใส่ผักหลายชนิด คือ ผักบุ้ง หยวก สับปะรด เม็ดมะม่วง หิมพานต์ หน่อข่าอ่อน และอาจใส่กุ้งเสียบหรือปลาฉิ้งฉ้างเล็กน้อย ปรุงรสให้มีรสเปรี้ยว หวาน เค็ม

  • เบือทอด :เบือทอดเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของ กุ้ง และหญ้าช้อง (สันตะวาใบข้าว) หรือ ใบชะพลู หรือใบเล็บครุฑ โดยการทำนั้น จะนำใบไม้ มาชุบแป้งสาลี ที่ผสมเครื่องเทศ นำกุ้งโรยหน้า แล้วนำไปทอด รับประทาน กับน้ำจิ้มรสหวาน และเผ็ดเล็กน้อย

  • ติ่มซำ :ติ่มซำเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของชาวภูเก็ต โดยมากนิยมทานกัน เป็นอาหารเช้า มีทั้งขนมจีบหรือเซียโบ๋ย ฮะเก๋าหรือเกาจี๋ เผือกทอด ลูกชิ้นปลา หรืออ๋วน ตีนไก่ กระดูกหมูตุ๋นยาจีนหรือบะกู้ดเต๋ กินกับน้ำจิ้มหวานหรือเตเจี่ยว

  • โลบะ : โลบะ คือ หัวหมูและเครื่องในหมูต้มพะโล้ แล้วนำไปทอดอีกที เลือกสั่งได้ว่า จะเอา หู ลิ้น ไส้ ปอด หรือตับ ทานกับต่าวกั้ว(เต้าหู้ทอด) หรือต่าวกั้วจี่ (เต้าหู้เหลืองผ่าเฉียง เป็นรูปสามเหลี่ยม ปาดตรงกลาง ใส่แป้งถั่วงอก กุ้ง แล้วนำไปทอด) หรือแห่จี่(แป้งผสมถั่วงอก โรยหน้าด้วยกุ้งแล้วนำไปทอด) หรือเกี้ยน (ทำจากหมูสับ กับกุ้ง ปู มันแกว และเผือก นำมาห่อด้วยฟองเต้าหู้ แล้วนำไปนึ่งให้สุกก่อนนำมาชุบแป้งทอด)
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • โลบะบางเหนียว (ทางไปสะพานหิน)
    • โลบะพูนผล (ถ.พูนผล)
    • โลบะสยาม (แถวถนนเยาวราช-โรงหนังเก่าชื่อสยาม)
      ฯลฯ

  • โอ้เอ๋ว : โอ้เอ๋ว เป็นขนมหวานทำมาจากกล้วยน้ำว้า ขยำกับเมล็ด โอ้เอ๋ว (เมล็ดสีขาวนำมาจากเมืองจีน) ใส่น้ำเชื่อม และน้ำแข็งใส กินแก้ร้อน และ ลดการกระหายน้ำ
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • แถวสยาม (แถวถ.เยาวราช-โรงหนังเก่าชื่อสยาม)
    • ปากซอยสุ่นอุทิศ ถ.เยาวราช
    • ใต้ต้นฉำฉา ถ.วิชิตสงคราม ปากทางเข้าซอยหล่อโรง
      ฯลฯ

  • บี้ถ่ายบาก : บี้ถ่ายบาก หรือลอดช่องสิงคโปร์ เป็นของหวาน มีเส้นสีขาวและแดง ทานกับน้ำเชื่อมใสใส่น้ำแข็ง

  • ตู่โบ้ : ตู่โบ้ หรือรวมมิตร กะทิ เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยมันต้ม เผือก ฟักทอง และถั่วแดง เม็ดเล็กๆ (คนภูเก็ตเรียกว่า ถั่วย้อแย้)

  • ขนมหัวล้าน : ขนมหัวล้าน หรือ ตาป๋าโก้ย เป็นขนมไส้ถั่วเขียว มีแป้งหุ้มปั้น เป็นลูกกลมเกลี้ยง สีเขียวอ่อนรองด้วยใบตอง

  • ขนมเต่า : ขนมเต่าหรืออั่งกู้ คือ ขนมหัวล้านนั่นเอง แต่นำแป้งมาใส่สีแดง แล้วกดในแม่พิมพ์เป็นรูปเต่า ใช้เป็นของไหว้ในเทศกาลต่างๆ

  • ขนมสี่ขา : ขนมสี่ขา หรือเบเฮ่จี่ ลักษณะคล้ายปาท่องโก๋หรือเจียะโก้ย แต่ปิดตัวแป้งให้เป็นเกลียวมีลักษณะเป็นสี่ขา โดยที่ตัวแป้ง มีเกร็ดน้ำตาล เมื่อรับประทานจะมีรสหวานอร่อย

  • จี้โจ : จี้โจ หรือจี่โจ เป็นขนมแป้ง คลุกงาทอด ข้างในมีไส้รสชาติค่อนข้างหวาน มีด้วยกันสามแบบ คือ ไส้ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วดำ

  • โกสุ้ย : โกสุ้ย หรือโก่ซุ้ย เป็นขนมถ้วย ทำจากน้ำตาลแดง ตัวขนมมีสีน้ำตาล รสหวาน ลักษณะเหนียวหนึบหนับ กินกับมะพร้าวขูด

  • กีโก้ย : เป็นขนมถ้วยเหลืองๆ ทำจากน้ำด่าง ตัวขนมมีความนุ่มและยืดหยุ่น ราดด้วยน้ำเชื่อม คำว่า กีโก้ยมาจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมว่า กีอาโก้ย

  • บั้นเจียนโก้ย : บั้นเจียนโก้ย มีลักษณะคล้ายขนมถังแตก ตัวขนมเหมือนฟองน้ำ มีรสชาติหวาน นิยมทานกับกาแฟในตอนเช้า

  • ฉ้ายถาวโก้ย : ฉ้ายถาวโก้ย เป็นขนมชนิดหนึ่ง มักทำกินกันในงานแต่งงาน ทำจากหัวไชท้าว ผสมกับแป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว ใส่หมู ไข่ น้ำตาล หัวเปราะ พริกไทย ผสมเข้าด้วยกันแล้วนำไปนึ่ง สุกแล้วโรยถั่วลิสง ต้นหอมหั่นฝอย มีกลิ่นของหอมและหัวเปราะ

  • เกี่ยมโก้ย : เกี่ยมโก้ย เป็นขนมรูปถ้วย สีขาว ขนาดประมาณถ้วยน้ำพริก รสชาติเค็ม ทำจากแป้งข้าวเจ้า โรยหน้าด้วยหอมเจียว ต้นหอม และกุ้งแห้งทอด กินกับน้ำจิ้มรสชาติเปรี้ยว-หวาน

  • จู้จุน : จู้จุน หรือขนมฝักบัว มีลักษณะเป็นวงกลม เป็นการนำแป้ง ไปทอด ให้บริเวณรอบๆ กรอบ และตรงกลางนุ่ม มีรสชาติหวาน

  • ฮวดโก้ย : ฮวดโก้ย หรือขนมถ้วยฟู ใช้ในพิธีไหว้เจ้า และไหว้บรรพบุรุษ เพราะเชื่อว่าเป็นขนมที่มีชื่อเป็นมงคล

  • เปาล้าง : เปาล้างคือข้าวเหนียวปิ้งไส้มะพร้าว ผสมกับกุ้ง พริกไทยและหัวเปราะ คาดว่าเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพล มาจากมาเลย์ เพราะที่มาเลเซีย ก็มีขนม ชนิดนี้เหมือนกัน

  • บะจ่าง : บะจ่างเป็นข้าวเหนียว ที่นำไปผัดกับซีอิ้ว แล้วนำมาห่อ ด้วยใบจ่าง(ใบจากตากแห้ง) โดยยัดไส้หมู กุ้งแห้ง และไข่ ไว้ข้างใน

  • กี่จ่าง : กี่จ่าง หรือขนมจ้าง ทำจากข้าวเหนียวแช่น้ำด่างห่อใบไผ่นึ่ง รสชาติหวานนิดๆ รับประทานกับน้ำตาลทราย

  • เกลือเคย : เกลือเคย ใช้ทานกับผลไม้คล้ายกับน้ำปลาหวาน ปรุงจากพริกขี้หนู ตำละเอียด กะปิ ซีอิ้ว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาว และน้ำ เวลารับประทาน ใช้ราดบนเลือดหมูต้ม เต้าหู้เหลือง แตงกวา และผลไม้อื่นๆ เช่น ชมพู่ สับปะรด ฯลฯ หรือนำผลไม้ไปจิ้มทานแบบน้ำปลาหวานก็ได้

  • เต้าซ้อ : เต้าซ้อ คือ ขนมที่มีลักษณะ เหมือนขนมเปี๊ยะ มีทั้งไส้หวาน ไส้เค็ม และบางร้านยังทำไส้ไข่เค็มด้วย
    หาซื้อ / ทานได้ที่ :
    • ร้านเค่งติ้น ถ.ภูเก็ต
    • ร้านแม่บุญธรรม ซอยสุรินทร์ 4
    • ร้านคุณแม่จู้
      ฯลฯ

  • ผ้างเปี้ย : ทำด้วยแป้งนำไปอบ ลักษณะเป็นรูปกลมๆ ข้างในกลวง และทาน้ำตาลไว้บางๆ

  • หม่อหล้าว : หม่อหล้าว หรือขนมงาพอง เป็นขนมท่อนยาวทรงกระบอกข้างในกรวง ข้างนอกกรอบโรยงาไว้ รสชาติหวาน

  • ขนมพริก : ขนมพริกเป็นขนมคล้ายคุกกี้ แต่มีส่วนผสมของพริกไทย รสชาติหวาน และมีรสเผ็ดร้อนของพริกไทยเล็กน้อย

  • ขนมหน้าแตก : เป็นขนมพื้นเมืองภูเก็ต ลักษณะเหมือนคุกกี้ รสชาติหวาน และเค็มเล็กน้อย เนื้อไม่ละเอียดมากนัก

  • ก้องถึง : ก้องถึงหรือขนมตุ้บตั้บ ซึ่งในภูเก็ต ยังมีแบบที่ห่อใบไผ่ แบบโบราณจำหน่าย

ผัก-ผลไม้ และอาหารแห้ง

กะเปก / หน่อไม้น้ำ

กะเปกหรือหน่อไม้น้ำ เป็นพืชชนิดหนึ่งคล้ายๆ ต้นข้าว แต่ลำต้นอวบน้ำกว่า สามารถนำลำต้นภายใน ที่ลอกกาบใบทิ้งหมดแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วผัดกับกุ้งสด รสชาติจะหวานมัน กรอบอร่อย

เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ปัจจุบันมีการนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาแปรรูปในรูปแบบนานาชนิด ซึ่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์นี้ ถือเป็นของฝากจากภูเก็ตได้อย่างดีทีเดียว

สับปะรดภูเก็ต
เนื่องจากแร่ธาตุในดินที่ภูเก็ต และสภาพภูมิอากาศ ในจังหวัดภูเก็ต ที่แตกต่าง จากจังหวัดอื่น จึงทำให้สับปะรดที่ปลูกในภูเก็ต มีความกรอบอร่อย รสชาติหวาน อมเปรี้ยว ไม่เหมือนใคร ถือเป็นผลไม้ที่มีรสชาติ เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เหมาะสำหรับที่จะซื้อ เป็นของฝากได้เช่นกัน

กุ้งเสียบ
กุ้งเสียบ คือกุ้งตัวโตไม่ปอกเปลือก นำไปย่างจนแห้ง และรมควันจนหอมหาซื้อได้ ทั่วไปตามตลาดสด ตลาดเกษตร หรือร้านจำหน่ายของที่ระลึก

ปลาฉิ้งฉ้าง
ปลาฉิ้งฉ้างเป็นปลาทะเลตัวเล็กๆ จำพวกปลากะตักหรือปลาไส้ตัน มีทั้งแบบ ตากแห้งธรรมดา และแบบที่ปรุงรสแล้ว ซึ่งปัจจุบัน มีการพัฒนา ให้มีหลากหลายรสชาติ

ลูกหยีสด
ต้นหยี เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันหายากเต็มที ในภูเก็ต ลูกหยีมีรสชาติเปรี้ยว และบางครั้งก็มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน

view