สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูเก็ต

ภูมิประเทศ-ที่ตั้ง
ภูเก็ตเป็นเกาะ ที่ใหญ่ที่สุด ใน ประเทศไทย แวดล้อมด้วย เกาะเล็ก เกาะน้อย ต่างๆ 32 เกาะ ตั้งอยู่ระหว่าง ละติจูด (เส้นรุ้ง) ที่ 7 องศา 45 ลิปดา และ 8 องศา 15 ลิปดาเหนือ และลองติจูด(เส้นแวง)ที่ 98 องศา 15 ลิปดา to 98 องศา 40 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 550 ตารางกิโลเมตร โดยส่วนยาวที่สุด ของเกาะ มีความยาว 38.7 กิโลเมตร และส่วนที่กว้างที่สุด ของเกาะ มีความกว้าง 21.3 กิโลเมตร เกาะภูเก็ต ประกอบไปด้วย ภูเขา หินแกรนิต ที่เต็มไปด้วยป่าไม้ และสวนยาง (ปัจจุบัน ลดน้อยลง เนื่องจาก ความเจริญก้าวหน้า ของ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว) และ ประกอบไปด้วย ชายหาด ที่สวยงาม รอบเกาะ

อาณาเขตติดต่อ :
ทิศเหนือ: จรดช่องปากพระ มีสะพานสารสิน และ สะพาน ท้าวเทพกระษัตรีย์ เชื่อมระหว่าง พังงา และภูเก็ต

ทิศใต้: จรดทะเลอันดามัน

ทิศตะวันออก: จรดอ่าวพังงา จังหวัดพังงา

ทิศตะวันตก: จรดทะเลอันดามัน

 
เทือกเขาที่สำคัญ
เขาพระแทว: อยู่ในเขตอำเภอถลาง เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ เขาพระแทว เป็นป่า ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต
เขาไม้เท้าสิบสอง: พาดยาวจากเหนือลงใต้ มีอาณาเขตอยู่ในเขตอำเภอเมือง และกะทู้

แหล่งน้ำ
เขื่อนบางวาด: อยู่ในเขตอำเภอกะทู้
น้ำตกโตนไทร: มีอุทยานแห่งชาติเขาพระแทวเป็นแหล่งต้นน้ำ
ขุมเหมือง: ภูเก็ตมีขุมเหมือง กระจายทั่วเกาะ ปัจจุบันนับเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ

ภูมิอากาศ
จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีฝนตกชุกเกือบทั้งปี ดังมีคำกล่าวว่า เป็นเมือง ฝนแปดแดดสี่ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22-34 องศาเซลเซียส ฤดูกาลในจังหวัดภูเก็ต มีสองฤดูกาลด้วยกัน คือ

  • ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยฝนจะตกชุกที่สุด ในช่วงเดือนสิงหาคม และ กันยายน อย่างไรก็ดีในช่วงฤดูฝนเราก็สามารถ เห็นพระอาทิตย์ได้ในบางครั้ง และฝนที่ภูเก็ต มักจะตก วันละประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่จะตก ในเวลาเดิมหรือใกล้เคียงกัน
  • ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน  โดยอุณหภูมิสูงสุด จะอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม และ เมษายน ช่วงฤดูร้อนนี้เป็นช่วงที่เหมาะ แก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง

หมายเหตุ  ในช่วงเดือนธันวาคม จะเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยว หลั่งไหลเข้าสู่เกาะภูเก็ต มากที่สุด หากต้องการ หลีกเลี่ยงจากความวุ่นวาย  ท่านอาจเดินทาง มาในช่วงอื่นได้ ซึ่งนอกจากจะได้บรรยากาศ ที่สงบเงียบแล้ว ท่านอาจได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากโรงแรมชั้นนำด้วย

การเดินทางมาภูเก็ต

การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถ เดินทางมาภูเก็ต ได้ทางถนน 4 เลนส์ ผ่านจังหวัดนครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ผ่านเข้าสู่เขตภาคใต้ ทางจังหวัดระนอง กระบี่(ผ่านอำเภอกะเปอ) พังงา (ผ่านอำเภอตะกั่วป่า และตะกั่วทุ่ง) ข้ามสะพานสารสิน หรือ สะพาน ท้าวเทพกระษัตรีย์ ระยะทางทั้งหมด 862 กิโลเมตร
การเดินทางโดย รถโดยสารประจำทาง

การโดยสารรถมาภูเก็ต ต้องขึ้นรถจาก สถานีขนส่งสายใต้ ซึ่งจะมีรถ เดินทางมาภูเก็ตทุกวัน โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  1. รถโดยสารปรับอากาศชั้นพิเศษ หรือวีไอพี : ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา  17.30 น. , 18.00 น. และ 18.30 น.
  2. รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 (ปอ1) : ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา  17.30 น. , 17.45 น. , 18.00 น. , 18.30 น. , 18.40 น. , 19.00 น. , 19.10 น. และ 20.00 น.
  3. รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 (ปอ2) : ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา  07.00 น. , 09.30 น. , 14.00 น. , 17.00 น.  และ 20.00 น.
สามารถจองบัตรโดยสารล่วงหน้าได้ที่  โทร. 0-2435-1199, 0-2435-1200.
รถไฟ จังหวัดภูเก็ต ไม่มีทางรถไฟเชื่อมต่อ
การเดินทางโดย เครื่องบินโดยสาร

เครื่องบินโดยสาร จากกรุงเทพฯ มาภูเก็ตใช้เวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง และมีเที่ยวบินทุกวัน สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- Thai Airways
- Bangkok Office: 66 2628 2000
- Phuket Office: 66 7621 1195, 0 7621 2946, 0 7621 2499
www.thaiairways.com.
- Bangkok Airways
- Bangkok Office: 66 2265 5678 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
66 2265 5555
- Phuket Office : 66 7622 5033 5
www.bangkokair.com
- Nok Air
- Office : 1318 or www.nokair.com
- Air Asia

- Office : 66 2515 9999 or www.airasia.com
- Phuket Air

- Bangkok Office : 66 2679 8999
- Phuket Office    : 66 7622 0184-6 or www.phuketairlines.com

สภาพเศรษฐกิจ
ภูเก็ตเป็นเมืองแห่งความมั่งคั่ง ชาวภูเก็ตนับว่าโชคดีมาก เนื่องจากถึงแม้ว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลง ไปธุรกิจบางชนิดจะซบเซาลง แต่ก็มีสิ่งใหม่เข้ามาแทนที่เสมอ อาทิเช่น เมื่ออุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ ซบเซาลง เมืองภูเก็ตก็มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาแทนที่ เป็นต้น

รายได้ของภูเก็ตมาจากอุตสาหกรรมใหญ่ๆ 5 ประเภท คือ การท่องเที่ยว การทำเหมืองแร่ การเกษตร(ปลูกยางพารา) และการประมง

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เริ่มขยายตัวในจังหวัดภูเก็ตมาไม่ต่ำกว่าสิบปี และได้กลายเป็น อุตสาหกรรมหลัก ที่ทำรายได้อย่างมหาศาลสู่จังหวัด เนื่องจากภูเก็ตเป็นเมือง ที่ประกอบไปด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย ทั้งชายหาด ป่า และน้ำตก

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ในอดีตกิจการเหมืองแร่มีความเจริญก้าวหน้ามาก นับตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3-4 สร้างรายได้ ให้ชาวภูเก็ต เป็นกอบเป็นกำ แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมากิจการ เหมืองแร่เริ่มซบเซาลง และธุรกิจการท่องเที่ยว เข้ามาแทนที่จนถึงปัจจุบัน

อุตสาหกรรมการเกษตร การเกษตรที่สำคัญ และนำรายได้มาสู่จังหวัดภูเก็ตมากที่สุด คือ การปลูกยางพารา แม้ว่าจะมีการเพาะปลูกพืชอย่างอื่น เช่น ปาล์ม หรือผลไม้ ด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าการปลูกยางพารา อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันพื้นที่ที่ใช้ ในการเพาะปลูก ลดน้อยลงเนื่องจาก การเจริญเติบโต ของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ทำให้พื้นที่บางส่วน กลายเป็น โรงแรม หรือบ้านพักตากอากาศ

อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมการประมง ยังคงเป็นอุตสาหกรรม ที่สำคัญอย่างหนึ่งของภูเก็ต เห็นได้จากในปัจจุบัน มีอุตสาหกรรมห้องเย็น แพปลา และเรือประมงอยู่มากมายในภูเก็ต โดยเฉพาะ ในบริเวณเกาะสิเหร่ และท่าเรือสะปำ

ประชากร
ชาวภูเก็ตมีลักษณะโดยรวมเหมือนชาวไทยทั่วไป คือ มีนิสัยขี้อาย และ เป็นมิตรกับทุกคน ประชากรในภูเก็ตประกอบด้วย กลุ่มคนหลากเชื้อชาติ และ ภาษา ทั้งชาวจีน มุสลิม ชาวเล ฮินดู หรือชาวยุโรป ก่อให้เกิดการผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรม เห็นได้จากประเพณีต่างๆ และ รูปแบบสถาปัตยกรรม(ชิโนโปรตุกิส)

ชาวจีน
ชาวจีนอพยพเข้ามาทำกิน ในภูเก็ตนานมาแล้วแต่ที่เข้ามามากที่สุดก็คือ ช่วงที่การทำเหมืองแร่กำลังรุ่งโรจน์ โดยชาวจีนเข้ามาเป็นกรรมกรในเหมืองแร่ และบางคน ก็ใช้ความเพียรพยายาม อุตสาหะจนสามารถตั้งตัวได้ เป็นเศรษฐี หรือนายหัวในที่สุด โดยชาวจีนที่อพยพมาส่วนใหญ่ จะแต่งงาน กับชนพื้นเมืองเดิม ลูกที่เกิดมามักเรียกว่าพวกบ้าบ๋า และ พวกย๋อหย่า

ชาวมุสลิม
ชาวมุสลิมเป็นพวกแรกๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดภูเก็ต ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐาน หนาแน่น อยู่บริเวณบ้านเกาะแก้ว บ้านเชิงทะเล บ้านบางเทา อำเภอถลาง และกระจายอยู่ทั่วเกาะ

ชาวเล
ชาวเลหรือชาวยิบซีทะเล หรือชาวไทยใหม่ เป็นอีกพวกที่อาศัย อยู่ในภูเก็ตมาเป็นเวลานาน คาดว่าน่าจะมาถึงภูเก็ตโดยการนั่งเรือเร่ร่อนเรื่อยมา ชาวเลในภูเก็ตแบ่งเป็น สามกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มสิงห์บก(มอเก็นตามับ) กลุ่มสิงห์ทะเล(มอเก็นปูเลา) และกลุ่มอูรักลาโว้ย โดยตั้งถิ่นฐาน อยู่สี่หมู่บ้าน ในภูเก็ต คือ บ้านแหลมตุ๊กแกที่เกาะสิเหร่ บ้านสะปำ บ้านราไวย์ และ บ้านแหลมหลาตำบลไม้ขาว

ชาวยุโรป
ชาวยุโรปเข้ามาอาศัยในจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยกลุ่มแรกๆ เป็นพวก สอนศาสนา และพ่อค้าชาวโปรตุเกส เห็นได้จากสถาปัตยกรรม ในการสร้าง บ้านเรือน ที่มีการผสมผสาน รูปแบบตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ภาษาถิ่น ของชาวภูเก็ตบางคำ ก็เป็นคำพูดที่ทับศัพท์ด้วย เช่น โก้ปี้โอเล้ง แปลว่า กาแฟใส่นม ซึ่งน่าจะมาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น

ชาวอาหรับและชาวฮินดู
ตามคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ชาวอาหรับ และชาวฮินดูเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในภูเก็ต ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อมารับจ้างทำงานในห้างร้านต่างๆ

หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรรู้
- สำนักงานการท่องเที่ยวจ.ภูเก็ต
Tel: 0-7621-2213, 0-7621-1036

- ฉุกเฉิน
Tel: 199

-
ตำรวจท่องเที่ยว
Tel: 0-7621-9878 or 1155

-
ตำรวจน้ำ
Tel: 0-7621-1883

-
สำนักงานจังหวัด
Tel: 0-7621-1366

-
ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
Tel: 0-7632-7230-7

-
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
Tel: 0-7621-2108

-
การบินไทย
Tel: 0-7621-1195, 0-7621-2946, 0-7621-2499

-
บางกอก แอร์เวย์
Tel: 0-7622-5033-5

-
ภูเก็ตแอร์
Tel: 0-7622-0184-6

- โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต
Tel: 0-7625-4425

- โรงพยาบาลมิชชั่น ภูเก็ต
Tel: 0-7623-7220-6, 0- 7623-6620-3

-
โรงพยาบาลภูเก็ตรวมแพทย์
Tel: 0-7621-2950

-
โรงพยาบาลสิริโรจน์
Tel: 0-7624-9400, 0-7621-0935

การเดินทางภายในจังหวัด

รถเมล์

รถเมล์ในจังหวัดภูเก็ตมีสองสายด้วยกัน คือ
สาย 1- จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาไปห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี
สาย 2- จากสถานีอนามัยแหลมชั่นไปวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

หมายเหตุ ทั้งสองสายจะเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 22.00 น. คิดอัตราค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย

รถแท็กซี่

มีรถแท็กซี่ให้บริการในจังหวัดภูเก็ตด้วย แต่มีจำนวนไม่มากนัก สามารถเรียกใช้บริการ ได้โดยทั่วไป หรือโทร.  0-7625-0297, 0-7625-0333, 0-7625-0345 การเดินทางโดยรถแท็กซี่ เป็นวิธีการที่ดีอีกอย่างหนึ่ง เพราะคิดราคาโดยมิเตอร์ ไม่มีปัญหาการโก่งราคา

รถสองแถว รถสองแถวมีลักษณะเหมือนรถกระบะ ที่มีการใช้ไม้ต่อเติม และดัดแปลงบริเวณกระบะ ให้สามารถนั่งได้สองแถวข้างๆ และเสริมม้านั่งตรงกลางได้อีกแถว หากมีผู้โดยสารมาก การเดินทางโดยรถสองแถว เป็นรูปแบบ ของการเดินทาง แบบดั้งเดิม ของชาวภูเก็ต โดยมีจุดเริ่ม ที่ตลาดสดภูเก็ต ที่ถนนระนอง เริ่มวิ่งตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 18.00 น. อัตราค่าโดยสารประมาณ 10-40 บาท

เรือหางยาว

การเดินทางไปตามเกาะแก่งต่างๆ ที่ไม่ไกลนัก สามารถเดินทางได้ด้วยเรือหางยาว เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

 

view